Friday, September 16, 2011

School & Me Story : สรุปวิเคราะห์เครื่องมือในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก
วิทยานิพนธ์
เรื่อง
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริิมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซเนติค
นายวันชัย บุญรอด
หลักสูตรปริญญาครุศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2538

           การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค โดยวิธีการ 4 ขั้นตอน คือ
           1. ศึกษาโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาทีมชาติไทยของสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
           2. สร้างโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค
           3. ศึกษาคุณภาพเชิงประจักษ์ของโปรแกรมที่สร้างขึ้น
           4. กลุ่มทำการฝึกตามโปรแกรมของสมาคมกรีฑาฯ อีก 8 กลุ่มเป็นกลุ่มทดลอง โดย 4 กลุ่มแรกฝึกตามโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและอีก 4 กลุ่มที่เหลือฝึกตามโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยไอโซคิเนติค
           ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองทั้ง 12 กลุ่มนี้ ทำก่ารฝึกในกิจกรรมการวิ่ง 100 เมตร 200 เมตร ทุ่มน้ำหนักและขว้างจักรก็เช่นเดียวกัน โดยใช้เวลาในการฝึก 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบผลของการฝึกหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 8 และ 12 แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของตูกี

1.มีหลักการและขั้นตอนในการพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษาอย่างไร

           มีขั้นตอนและวิธีการที่จะพัฒนาโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาอยู่ 4 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาทีมชาติไทยของสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และปรับปรุงโปรแกรม เพื่อให้เหมาะสมกับนักกรีฑาที่เริ่มเล่น
ซึ่งมีขั้้นตอนและวิธีการ ดังนี้
           1.1 ศึกษาโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อโดยวิธีการฝึกด้วยน้ำหนัก
           1.2 ศึกษาโปรแกรมการฝึกทักษะกรีฑา
           1.3 ศึกษาตารางการฝึก
           1.4 ปรับปรุงโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาทีมชาติไทยของสมาคมกรีฑาฯ เพื่อให้เหมาะสมกับนักกรีฑาที่เริ่มเล่น
           1.5 นำโปรแกรมการฝึกนักกรีฑา ที่ปรับปรุงจากโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาทีมชาติไทยของสมาคมกรีฑาฯ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 คน เพื่อพิจารณาตรวจสอบและให้คำแนะนำ แล้วนำมาปรับปรุง
           1.6 นำโปรแกรมที่ปรับปรุงแล้ว ไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 2 สร้างโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค และศึกษาคุณภาพในเชิงเหมาะสมตามเหตุผล ทฤษฏี และ ความครอบคลุมของเนื้อหา (Logical test) มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้
           2.1 นำโปรแกรมการฝึกนักกรีฑา ในด้านการฝึกกล้ามเนื้อโดยการฝึกด้วยน้ำหนัก เป็นโปรแกรมสชหลักในการสร้างโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการปรับลดท่าการฝึกด้วยน้ำหนักที่ฝึกกลุ่มกล้ามเนื้อเดียวกันลง แล้วนำการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติคเข้าไปในเสริม เพื่อควบคุมเวลาในการฝึกให้เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
           2.2 นำโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติคที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาตรวจสอบ

ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาคุณภาพเชิงประจักษ์ (Empirical study) ของโปรแกรมที่สร้างขึ้น มีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้
           3.1 นำโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติคที่ผูวิจัยสร้างขึ้นไปศึกษานำร่อง (Pilot study) กับกลุ่มเป้าหมาย คือนิสิตชาย ภาควิชาพลศึกษา ที่มิได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5 คน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ
           3.2 นำปัญหาที่พบมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค

ขั้นตอนที่ 4 ประเมินโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติคที่สร้างขึ้น โดยการนำไปทดลองฝึก และจัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม
         
2. มีหลักในการประเมินสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างไร
เครื่องที่ไว้ใช้ทดสอบความแข็งแรงที่ผู้วิจัยใช้
           
           การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้โปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยวิธีการเสริมการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค และโปรแกรมการฝึกของนักกรีฑาของสมาคม สำหรับใช้ในการฝึกกลุ่มควบคุม ทั้ง 2 อย่างที่กล่าวมาเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยได้ใช้ในการทำวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาสิ่งที่เขาต้องการ หลังจากมีโปรแกรมแล้ว ก็จะต้องมีเครื่องมืออีก 1 อย่างที่บอกถึงการพัฒนาว่าจากโปรแกรมที่เราให้กลุ่มตัวอย่างฝึกตลอด 8 สัปดาห์นั้น จะเกิดการพัฒนาหรือไม่ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องไอโซเนติค ไซเบ๊ก รุ่น 6000 (Cybex 6000 Isokinetic dynamometer) ที่จะใช้ในการทดสอบความแข็งแรง และพลังกล้ามเนื้อ
           ผู้วิจัยมีหลักการในการใช้เครื่องมือในการประเมิน มีความละเอียดมากโดยที่ผู้วิจัยจะทำการตรวจสอบเครื่องที่จะใช้ทำการทดสอบทุกครั้ง หลังจากตรรวจสอบเครื่องแล้วก็จะกำหนดอัตราความเร็วของตัวหน่วงแรงตามที่เขากำหนด ก่อนที่จะให้ผู้ทำการทดสอบมาทดสอบก็จะให้อบอุ่นกล้ามเนื้อทุกครั้งและลองให้ทำความคุ้นเคยกับตัวเครื่องทุกครั้งเพื่อที่จะให้ผลที่ออกมาแน่นอน ปราศจากตัวแปรอื่นๆเข้ามาแทรกซ้อน ที่สำคัญทุกครั้งผู้วิจัยจะกำหนดการพักไว้ตลอด เพื่อผลการทดสอบออกมาที่แน่นอนด้วย
           การทดสอบที่ผู้วิจัยทำ ผู้วิจัยจะทำการทดลอง ก่อน(Pre test) ระหว่าง(Mid test) และหลัง(Post test) และนำผลที่ได้จากการทดสอบก่อน ระหว่างและหลังการฝึกที่ได้มานำไปวิเคราะห์สรุปผล


3. ผลการนำสื่อและเทคโนโลยีการศึกษามาใช้เป็นอย่างไร


           โปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติคที่สร้างขึ้น มีผลต่อความสามารถในการวิ่ง 200 เมตร ดีกว่าโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาของสมาคมกรีฑาฯ สำหรับความสามารถในการทุ่มน้ำหนักนั้นการฝึกตามโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาของสมาคมกรีฑาฯ ดีกว่าการฝึกตามโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาด้วยการเสริมวิธีการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและไอโซคิเนติค และสำหรับการวิ่ง 100 เมตรและขว้างจักร ไม่มีความแตกต่างกัน ระหว่างโปรแกรมการฝึกนักกรีฑาทั้ง 3 โปรแกรม

Friday, August 12, 2011

School & Me Story : สิ่งที่ผมเป็นกับสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง
      
         ชีวิตของคนเราแน่นอนต้องเคยพบเจอกับสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงจริงๆ เปรียบเหมือนทางแยก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงให้เราไปในทางที่ดีก็ได้ หรือไปในทางที่ไม่ดีก็ได้ เพียงแต้เราคงต้องเตรียมตัวเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิต  การเปลี่ยนแปลงในบางครั้งก็เป็นถ้าเป็นสิ่งที่ดีกับตัวของเรา ก็จะทำให้เราทำแล้วเกิดความสุข สนุกที่ได้ทำ แต่กลับกันถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ดีกับตัวของเรา ไม่เข้ากับตัวของเรา สิ่งที่เราทำสิ่งที่เราปฏิบัติก็อาจจะไม่ดีเลยก็ได้ เช่นเดียวกับตัวของผมก็ได้เจอทางแยกหรือการเปลี่ยนแปลงมามากพอสมควร และก็มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่อยากจะมานำเสนอให้ทุกคนได้อ่านกันครับ.......
     
         การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวของผมในตอนนีีโดยที่ผมเองก็ยังไม่ทราบและยังไม่รู้เลยว่าจะเกิดผลดีหรืออาจจะไม่ดีก็ได้ นั้นก็คือการได้มีโอกาสมาสอนวิชาคณิตศาสตร์ - -" ในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ถ้าใครได้อ่านบล็อกก่อนๆคงทราบดีว่าผมเป็นครูพลศึกษาและสุขศึกษานะ(แล้วให้ผมมาสอนเลขเด็กคงจะเจริญละ55) ทำไมผมจึงมาสอนเลขผมคงต้องเล่าย้อนไปตอนเทอมสองเมื่อปีที่แล้ว.........
         ในตอนนั้นผมก็ยังเป็นครูสอนพลศึกษาและสุขศึกษาอย่างเต็มตัวโดยที่รับผิดชอบการสอนพลศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย 1-3 และประถมศึกษาตั้งแต่ 1-6 สุขศึกษาสอนในช่วงชั้นที่ 1 คือระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 การสอนในทุกๆวันในตอนนั้นผมอยากจะบอกว่าแม้จะสอนเด็กที่เป็นเด็กเล็กๆ แต่ก็สนุกมากๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้เจอะเจอมันเหมือนสอนผมให้ผมอยากที่จะพัฒนาการสอนในวิชาชีพที่ผมเรียนมาให้ดีขึ้นทุกวัน ทุกวันที่ผมสอนล้วนที่จะมีความสุขเพราะผมได้สอนในสิ่งที่ผมรักที่ผมชอบ การสอนของผมเลยมักจะเกินเวลาไปบางในบางครั้ง(555ก็มันช่วยไม่ได้กำลังสนุกนิหน่า) การสอนในช่วงนั้นผมพยายามที่จะพัฒนาทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นวิชาพลศึกษาหรือจะเป็นสุขศึกษา สุขศึกษาผมพยายามที่จะปรับใช้เทคโนโลยีให้เข้ามาบทบาทในวิชานี้ให้มากขึ้นเช่น ในเรื่องของการสอนเรื่อง โรคติดต่อ สอนป.3 ผมได้ใช้สื่อการสอนที่เป็นการ์ตูนเรื่องหนึ่งชื่อว่า one upon a time life (นิทานชีวิต) ซึ่งการ์ตูนเรื่องนี้มีประโยชน์อย่างมาก การ์ตูนเรื่องนี้สอนให้เราได้เรียนรู้ถึงระบบภายในร่างกายของเรา ซึ่งถ้าใครไม่รู้จักผมมีคลิปให้ดูครับ (เผื่อเห็นคลิปนี้แล้วจะจำได้ รวมไปถึงถ้าใครสนใจก็ลองหาดูได้ครับ)

one upon a time life 
 


โดยในเรื่องนี้ผมอยากจะสอนให้เด็กเห็นก่อนว่าเจ้าเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอย่างไรและเชื้อโรคจะทำให้ร่างกายของเราเป็นอย่างไร และร่างกายของเราจะสามารถกำจัดเจ้าเชื้อโรคได้อย่างไร ซึ่งสอดคล้องกับบทเรียนที่จะสอนคือเรื่องของโรคติดต่อได้ ซึ่งถ้าเราสอนไปอย่างเดียวเด็กอาจจะไม่เข้าใจและไม่จำ แต่ผมเลือกใช้สื่อที่เหมาะกับเด็ก เลยทำให้เด็กเขาเข้าใจได้ง่ายและยังดูแล้วสนุก โดยในตอนนี้เด็กๆหลายๆคนยังอยากที่จะดูต่ออีก^^ นี่คือส่วนหนึ่งที่ผมได้พยายามพัฒนาการสอนในสิ่งที่ผมรัก ผมทำด้วยคนที่รักต่อวิชาชีพ ทำแล้วมันมีความสุขได้เห็นเด็กๆเกิดรอยยิ้มเกิดความสนุกสนาน ผมสอนต่อมาเรื่อยๆอย่างมีความสุขจนมีวันหนึ่งครูวิชาการที่โรงเรียนซึ่งท่านสอนคณิตศาสตร์ ป.3 นั้นเองมีโจทย์บางข้อที่ท่านไม่เข้าใจจึงมาถามผม ผมก็ได้อธิบายไป นี่คงเป็นจุดประกายแรกที่ทำให้ ครูที่เป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการเห็นแววว่าผมน่าจะสอนเลขได้(ซึ่งถ้าคิดย้อนไปตอนนั้นไม่น่าเลย55) ต่อมา ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปติวเลขป.3 อาทิตย์ละ1คาบเพื่อให้เด็กได้เกิดการคิด การวิเคราะห์ การตีโจทย์ได้ เพราะเด็กระดับป.3 จะต้องสอบ NT National Test  คือ การสอบประเมินคุณภาพการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  เพื่อการประกันคุณภาพผู้เรียน ตรวจสอบกำกับดูแล และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งเป็นการสอบที่เด็กระดับ ป.3 จะต้องสอบทุกคน เพราะอะไรผมถึงได้โอกาสมาติวก็เพราะ ครูวิชาการท่านเดิมได้บอกครูใหญ่ว่าผมพอที่จะติวได้ ทำได้ ครูใหญ่เลยให้ผมได้ลองเข้าไปติวทุกอาทิตย์ๆละครั้ง........... "นี่คงเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผมได้มาสอนวิชาคณิตศาสตร์ในวันนี้"

         ตอนนี้ทุกคนได้ทราบแล้วว่าจุดประกายการเปลี่ยนแปลงแรกที่ผมได้มาสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นอย่างไร ในตอนหน้าผมจะมาเล่าต่อนะครับว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ จะส่งผลต่อชีวิตของผมอย่างไรบ้างนะครับ จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหรือเปล่า หรือในทางที่ไม่ดีหรือเปล่า อย่างไร ทางแยกนี้จะส่งผลต่อชีวิตผมอย่างไร มาติดตามต่อในบทความหน้านะครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ^^

Tuesday, August 9, 2011


School & Me Story : S A Q Performance 

          คำมั่นสัญญาที่บอกต่อกันว่าเราจะสู้ เราจะชนะ และเราไม่อยากที่จะแพ้ เป็นสิ่งที่เด็กๆได้บอกผมในวันนั้น จากคำมั่นนั้นเด็กๆบอกผมเราจะสู้และซ้อมกันต่อไป ผมและทีมงานได้ตกลงและวางแผนการฝึกซ้อมให้เด็กใหม่โดยคำนึงถึงชนิดกีฬาที่เด็กเล่นนั้นก็คือ แชร์บอลนั้นเอง การเล่นแชร์บอลจำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางกาย(สมรรถภาพทางกาย   หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะสามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และฟื้นตัวจากความเมื่อยล้)แทบทุกอย่าง แน่นอนว่าในเรื่องของความอดทนของกล้ามเนื้อก็จำเป็นอย่างแน่นอนเพราะว่ากีฬาแชร์บอลเป็นกีฬาต้องเคลื่อนที่เคลื่อนไหวตลอดโดยมีเวลาเป็นตัวกำหนด(ความอดทนของกล้ามเนื้อ  (Muscular Endurance)  หมายถึง  คุณสมบัติที่บุคคลสามารถเพียรพยายามทำงานในกิจกรรมที่ต้องใช้กลุ่มกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันเป็นระยะเวลานาน ๆ) แต่ในมุมมองอีกด้านสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญหรือจำเป็นต้องฝึกในกีฬาแชร์บอลไปพร้อมกับความอดทนของกล้ามเนื้อไปด้วยก็คือ ความคล่องแคล่วว่องไว (ความคล่องแคล่ว หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและควบคุมได้ รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ทดสอบ เช่น การวิ่งเก็บของ การวิ่งซิกแซ็ก) เมื่อผมคิดเช่นนั้น จึงหาโปรแกรมที่จะนำมาฝึกฝนกับนักเรียนโดยให้สอดคล้องกับความอดทนและการฝึกความคล่องตัวไปด้วย (ซึ่งถ้ามองจริงๆก็ยากเอาการ55)


           การฝึกที่ผมมองและคิดว่าน่าจะสามารถนำไปฝึกฝนได้จริงและจะเกิดประโยชน์ก็กลุ่มเด็กๆมากที่สุดก็ โปรแกรมการฝึกเอส เอ คิว(S A Q) ผู้อ่านหลายๆท่านคงจะงงว่าเอส เอ คิว คืออะไร ผมจะอธิบายให้ฟังนะครับ 


S A Q  คือ
S – Speedความเร็ว
A – Agilityความว่องไว
Q – Quickness  ความคล่องแคล่ว

           ฉะนั้นเอสเอคิวจึงเป็นสิ่งที่ไว้ฝึกเรื่องของความคล่องแคล่วว่องไวนั้นเอง โดยจะมีโปรแกรมหรือสถานีการฝึกต่างๆให้กลุ่มผู้ฝึกได้ฝึกฝนในเรื่องของความคล่องแคล่วว่องไว เพื่อเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดกับกลุ่มผู้ฝึกนั้นเอง

           การฝึกเอส เอ คิว ที่ผมได้นำไปฝึกกับเด็กๆจะให้สอดคล้องกับกีฬาแชร์บอลให้มากที่สุด เช่นในเรื่องของการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวในสนามได้อย่างคล่องแคล่ว การเคลื่อนที่หนีตัว    

                                                                 ประกบ หรือการเข้าประกบตัวผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม  
                                                                 เป็นต้น 


Agility cone drill


         ในแบบฝึกแรกที่ผมได้ลองนำไปใช้กับเด็กๆ นักเรียนคือการฝึกการเคลื่อนที่เคลื่อนไหว ในทุกทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวิ่งสปีดไปข้างหน้า การวิ่งถอยหลัง การวิ่งข้างๆ ถ้านักเรียนสามารถทำได้อย่างคล่องแล้วจะเกิดประโยชน์ ต่อการลงไปแข่งขันในสนามอย่างแน่นอน การฝึกจะใช้กรวย(Cone)วางไว้ 5 จุดในระยะที่ห่างกันพอสมควรและก็วิ่งในทิศทางต่างๆไปยังกรวยอีกจุด โดยผมจะให้เด็กฝึกทุกครั้งโดยจะให้ฝึก 3-5 เซต(หมายความว่าทำ 3-5 รอบต่อคน) 

Speed, Five-Star Drill

          ในแบบฝึกที่สองที่ผมได้นำมาใช้คือการฝึก กรวย 5 อัน ตามคลิปเป็นการฝึกในเรื่องการสไลค์ตัวไปยังกรวยต่างๆ การสไลค์จะต้องย่อตัวให้ต่ำเพื่อให้ได้กล้ามเนื้อต้นขาด้วย การฝึกอันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากในการเล่นแชร์บอลเพราะ การฝึกชนิดนี้จะทำให้เด็กๆสามารถใช้การสไลค์ตัวปิดคู่ต่อสู้ได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น

           สองคลิปที่นำมาเสนอเป็นแค่ตัวอย่างที่นำมาปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของการทรงตัวในสนามการเคลื่อนที่เคลื่อนไหวในกีฬาแชร์บอลและยังที่จะสามารถฝึกความคล่องแคล่วว่องไวได้อีกด้วย และยังมีอีกหลายๆแบบฝึกที่ผมได้ปรับใช้กับเด็กๆเพื่อให้เกิดประโยชน์กับเด็กๆให้มากที่สุด สิ่งที่ผมนำมาปรับใช้แม้มันจะดูยากไปนิดหน่อยแต่ผมก็หวังว่าความรู้ที่ผมต้องการมอบให้เด็กๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบแทนความตั้งใจของพวกเขานั้นเอง....


Sunday, August 7, 2011

School & Me Story : น้ำตาแห่งความพยายาม
      
           จากวันนั้นที่พวกเราครูพลศึกษาได้ริเริ่มการออกกำลังกายในตอนเย็นทุกวันขึ้น พวกเราได้สอนได้เล่นกีฬากับพวกเด็กๆของเราทุกวันจนมีโอกาสได้เข้าแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด ซึ่งมีกีฬาสองประเภทที่ใช้แข่งขันก็คือ ฟุตซอล และแชร์บอล ฟุตซอลผู้ชาย ส่วนแชร์บอลจะเป็นผู้หญิง ซึ่งการแข่งขันจะเป็นการแข่งขันแบบมินิลีก คือทีมหนึ่งจะต้องแข่ง 2 นัดเอาทีมที่ดีที่สุดสองทีมเข้ารอบสอง พวกเราครูพลศึกษาจึงรวมคนเพื่อที่จะส่งนักเรียนเข้าแข่งขันในนามโรงเรียนนวลวรรณศึกษา 
      
           ผมได้โอกาสคุมนักกีฬาแชร์บอลหญิง ในช่วงแรกของการฝึกซ้อมกีฬาแชร์บอลหญิงแน่นอน ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้หญิงแล้วเรื่องของปัญหาต่างๆย่อมมากตามมาด้วยไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการกลับบ้านดึกไม่ค่อยได้ ผู้ปกครองมารับไม่ได้ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย พวกเราก็ต้องปรับเปลี่ยน ปรุงแต่งทีมของเราไปเรื่อยๆ การซ้อมผมพยายามให้เด็กของผมฝึกในทุกๆทักษะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอล การเคลื่อนที่เคลื่อนไหวในสนาม การรับส่งบอล การยิงประตู การเรียนรู้การเล่นทีม รวมไปถึงการสร้างร่างกายให้มีความแข็งแรงพร้อมที่จะแข่งขันได้ตลอด 30 นาที เด็กๆได้ฝึกฝนกันอย่างตั้งใจ เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังที่อยากที่จะแข่งขันและอยากได้คำว่า ชัยชนะ แม้ว่าคำว่าชัยชนะจะไม่ได้มาง่ายก็ตาม แต่สิ่งแรกที่ผมได้เห็นจากเด็กๆกลุ่มนี้้คือความตั้งใจ ความทุ่มเท ผมไม่คิดหรอกนะครับว่าเขาจะทุ่มเทอะไรกันมากขนาดนั้น จนมีวันหนึ่งเด็กๆโทรหาผมเพื่อให้ผมมาซ้อมให้ในวันอาทิตย์ โดยเด็กๆให้เหตุผลว่าไม่อยากทิ้งเวลาเสียไปอย่างไร้ประโยชน์,,,,,,,แค่นี้ผมก็อยากจะบอกนะครับว่า อย่างน้อยแม้ทีมเราจะพ่ายแพ้อย่างยับเยินอย่างไรก็ตามแต่ผมก็ได้เห็นถึงการรักที่จะเล่นรักที่จะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว คุณผู้อ่านเห็นด้วยกับผมมั้ยครับว่าพวกเด็กๆเขาสร้างรอยยิ้มในหัวใจของผมได้นะครับ^^
      
            วันแข่งขันก็มาถึงเราเจอกับโรงเรียนดาราคาม ซึ่งเขาเป็นรองแชมส์เก่าเมื่อปีที่แล้ว สิ่งที่ผมสังเกตเห็นกับตัวเด็กๆก่อนการแข่งขันแมตส์นี้เด็กๆไม่มีท่าทีในการกลัว แต่เขาเต็มไปด้วยความหวังที่จะชนะ,,,,แม้สุดท้ายทีมของเราก็พ่ายแพ้ไปอย่างยับเยิน 84-0 การพ่ายแพ้นัดแรกบ่งบอกได้ถึงประสบการณ์ที่นักเรียนยังขาดอีกมาก การพ่ายแพ้นัดแรกทำลายความเชื่อมั่น ทำลายความตั้งใจของเด็กๆไปมาก ผมสังเกตเห็นได้จากเมื่อแข่งเสร็จเด็กๆเกิดร้องไห้ น้ำตาของเด็กแทบทุกคนไหลออกมาโดยที่เขาคงเสียใจ เจ็บใจ ที่เขาพ่ายแพ้ การแพ้คงจะยิ่งใหญ่ต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก ผมและคณะครูก็ช่วยกันปลอบ เพราะการแพ้นัดนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร เรายังไม่ได้ตกรอบเลย แต่เรายังมีอีกหนึ่งนัดที่จะแข่งขันถ้าเราชนะก็จะสามารถเข้ารอบได้เช่นกัน จากการพ่ายแพ้ในนัดแรก เด็กๆกลับมาฝึกซ้อมกันอย่างหนักอีกครั้ง พวกเด็กๆยังคงเชื่อมั่นว่าเขาจะสามารถขนะและผ่านเข้ารอบได้ ถ้าเราชนะ......
          
            การแข่งขันในนัดที่สองก็มาถึงเราแข่งขันกับโรงเรียนยุหมินพัฒนา ซึ่งถ้าใครชนะก็จะผ่านเข้าสู่รอบที่สองทันที ตามโรงเรียนดาราคามเข้ารอบไป การแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนานเพราะทั้งสองโรงเรียนความสามารถไม่ได้แตกต่างกันมากนัก การแข่งขันจบลงด้วยผลสกอร์ 10-10 ซึ่งทำให้เราต้องแข่งขันต่อเวลา ผลสุดท้ายเด็กๆของเราก็เป็นฝ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์ 20-10 แมตส์การแข่งขันในครั้งนี้จบลงด้วยเราพ่ายแพ้ทั้งสองนัด......

            เด็กๆของเราทุกคนร้องไห้กับความพ่ายแพ้อีกครั้งเป็นความพ่ายแพ้ที่ทำลายความตั้งใจของเขาอย่างมากอีกครั้ง การร้องไห้และการเสียใจ เป็นสิ่งธรรมดาที่ทุกคนล้วนที่จะเคยทำเวลาที่เราเสียใจ ดีใจกับสถานการณ์ต่างๆ ดีใจเมื่อเราประสบความสำเร็จเราก็ร้องไห้ด้วยความดีใจ หรือเมื่อเราต้องสูญเสียอะไรซักอย่างเราก็ร้องไห้ด้วยความเสียใจ การร้องไห้และการเสียน้ำตามันคงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรเลย.....แต่การร้องไห้ของเด็กในครั้งนี้ผมเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าพวกเด็กๆเสียใจที่ต้องตกรอบ เสียใจที่ทำตามฝันที่อยากจะเข้ารอบต่อไปไม่ได้ พวกเขาร้องไห้ และร้องไห้ และร้องไห้ (ภาพในวันนั้นจะคงติดตาและติดอยู่ในใจของผมมาในวันนี้เลยครับ)

               เช้าวันต่อมาหลังจากผ่านวันพ่ายแพ้ไป การร้องไห้บ่งบอกได้ถึงความเสียใจที่มีต่อการเล่นกีฬา เด็กๆหลายๆคนยังคงมีอาการเสียดายและบางคนมีอาการเงียบขรึมไป ผมคิดได้อย่างหนึ่งในขณะนั้นว่า วันนี้จะยังมีเด็กๆมาฝึกซ้อมกีฬากับเราอีกหรือไม่ เพราะพวกเขาต้องเสียใจ ต้องเสียน้ำตากับกีฬานี้ถึง2ครั้งพวกเขาคงไม่อยากที่จะเล่นแล้วละในความคิดของผม(ใครจะอยากเล่นแล้วแพ้เนอะ) เย็นวันนั้นเด็กๆ เปลี่ยนชุดมาซ้อมและได้บอกกับผมว่าพวกเขาขอสู้ต่อไป เขาอยากที่จะชนะ เขาอยากที่จะพยายามต่อไปให้ถึงที่สุด การพูดของเด็กๆทำให้ผมยิ้มได้พร้อมที่จะสู้ต่อไปพร้อมกันกับเด็กแล้ว น้ำตาที่พวกเด็กเสียไปในวันนั้น มันจะเป็นน้ำตาแห่งความพยายามที่จะส่งผลให้พวกเด็กๆประสบความสำเร็จในข้างหน้าอย่างแน่นอน ผมเชื่อนะครับว่าในวันนี้เด็กๆจะยังไม่ประสบความสำเร็จในวันนี้แต่เขาจะมีความรักต่อการเล่นกีฬาไปอีกยาวนาน

            น้ำตาแห่งความพยายามในเรื่องนี้ผมอยากให้เห็นถึงความตั้งใจที่เด็กๆของผมเขาพยายามจนสุดความสามารถของเขานะครับ หลายๆคนอาจจะอ่านไม่เข้าใจนะครับผมก็ขอโทษด้วยจริงๆแต่อยากให้ลองใช้จิตใจของคนที่เป็นครู คนที่เป็นผู้ฝึกสอนดูนะครับ แล้วจะเข้าใจว่าการเสียน้ำตาของเด็กในวันนั้นมันมีค่าจริงๆครับกับครูคนนี้ มันสอนให้ผมเห็นถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของเด็กๆกลุ่มนี้และมันจะอยู่ในใจผมตลอดไปครับ.....^^    

     
                   

Friday, July 22, 2011

School & Me Story : เราเคยคิดที่จะสร้างอะไรให้โรงเรียนบ้าง!!!

            จากสิ่งเล็กๆ จากโรงเรียนเล็กๆที่ไม่ได้มีอะไรเลิศเลอเพอร์เฟคอะไร แต่สถานที่เล็กๆแห่งนี้ได้ทำให้ผมได้เรียนรู้กับชีวิตของคนที่ได้เรียกตัวเองว่าคุณครูอย่างเต็มเปี่ยม สถานที่แห่งนี้ได้ปรับเปลี่ยนความคิดของผมไปอย่างสิ้นเชิงในคำที่ว่า โรงเรียนใหญ่ต้องดีเสมอไป โรงเรียนเล็กๆแห่งนี้ละทำให้ผมได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย โดยที่ถ้าไปโรงเรียนใหญ่ๆก็อาจจะไม่ได้ทำแบบนี้ ไม่มีโอกาสแบบนี้ก็เป็นได้ โรงเรียนเล็กนี่เองที่ทำให้ได้เรียนรู้กับคำว่าสร้างและพัฒนาได้อย่างเต็มที่และอิสระ.......
       
            การสร้างที่เขียนคงไม่ใช่สิ่งก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่เกินความสามารถของเรา แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถทำเพื่อโรงเรียนได้บ้าง คนอื่นอาจจะมองแค่ว่าเราเป็นครูก็มีหน้าที่สอน สอนไป พัฒนาการสอนไป สอนให้ดีที่สุด แค่นั้นก็เป็นการสร้างที่ดีที่สุดแล้ว ส่วนใหญ่ครูทุกท่านก็คงคิดอย่างนั้น การคิดอย่างนั้นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างแล้วเราก็ทำเพื่อเด็กนักเรียนของเรานั้นเอง เป้าหมายการเป็นครูย่อมที่จะอยากให้เด็กนักเรียนของเราประสบความสำเร็จทางการเรียน แต่นอกเหนือจากการพัฒนาการสอนของตัวเองแล้วเราคิดที่จะสร้างอะไรเพื่อนักเรียนของเราให้ประสบความสำเร็จในด้านอื่นบ้างหรือไม่ ...สิ่งที่เราคิดนี่ละคงเป็นจุดเริ่มต้นในสิ่งที่เราคิดจะสร้างอะไรให้โรงเรียนได้บ้าง
          
            สิ่งแรกที่พวกเราครูพลศึกษาได้เริ่มสร้างขึ้นคือการสร้างทีมนักกีฬาขึ้นมา จากโรงเรียนที่ไม่ค่อยได้เล่นกีฬาอะไรกันเลย เด็กส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กอ้วน น้ำหนักมาก ทักษะกีฬาก็ไม่ค่อยมี พวกเราครูพลศึกษาใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียน นำนักเรียนที่เขาสนใจอยากจะเล่นกีฬานำมาฝึกซ้อมกีฬากัน โดยใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง ในการสอน ฝึกฝน และเล่น กับเด็กนักเรียน โดยในช่วงแรกก็เป็นธรรมดาที่จะไม่มีคนมาเล่นเลย จนเริ่มมี 2 คน 3 คน จนถึงทุกวันนี้เราได้สร้างทีมฟุตซอล และทีมแชร์บอลให้กับโรงเรียนได้แล้ว เรามีนักกีฬาเกือบ 30 คน จากโรงเรียนที่ไม่เคยมีคนเล่นกีฬาตอนเย็น สี่โมงครึ่งก็แทบจะเกือบเป็นป่าช้า แต่ในวันนี้โรงเรียนกลับมีเสียงดังสนุกสนาน จากการฝึกฝนกีฬา จากเกมการเล่่นต่างๆให้เด็กนักเรียนได้เล่นได้ฝึกฝน จากอุปกรณ์กีฬาไม่ค่อยจะมีให้เด็กได้เล่น จนถึงตอนนี้ก็ผู้ใหญใจดีได้หยิบยื่นอุปกรณ์เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ฝึกฝน จากที่เลิกเรียนแล้วไม่ค่อยมีใครเข้ามาในโรงเรียนก็มีบุคคลภายนอก เขาอยากมาเล่นร่วมสนุกกับนักเรียนของเรา จากวันนั้นถึงวันนี้ แม้ผมจะไม่สามารถสร้างนักกีฬาให้เขาเป็นนักกีฬาที่ประสบความสำเร็จได้ในตอนนี้แต่ผมก็ได้สร้างให้เขาได้มีความรักในการเล่นกีฬา ให้ความสนุกสนานที่เกิดจากกการเล่นกีฬา มีความผูกพันต่อสิ่งที่เขาได้เล่น และสิ่งเหล่านี้ที่พวกเราได้สร้างไว้ พวกเราก็ได้หวังว่าคงจะทำให้นักเรียนของพวกเราจะประสบความสำเร็จในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน...

             สิ่งที่พวกเราชาวพลศึกษาได้สร้างแม้คนอื่นจะบอกว่ามันเล็กน้อย ไม่เห็นจะแปลกใหม่อะไรเลย ผมก็อยากจะบอกว่าคุณอาจไม่รุ้หรอกว่ามันมีความสุขมากขนาดไหนที่ได้ทำและสนุกไปกับสิ่งที่ได้ทำ ได้เห็นรอยยิ้ม ได้สุขได้ทุกข์ไปพร้อมๆกับนักเรียนของเรา ได้เห็นความรักที่มีต่อกีฬาของพวกนักเรียน ครูพลศึกษาอย่างพวกเราคงไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว แค่นี้ก็มีความสุขแล้วครับ......แล้วคุณหล่ะลองหันไปมองข้างหลังแล้วคิดที่จะสร้างอะไรให้โรงเรียนคุณแล้วหรือยัง....................^^







            "คุณเคยเห็นเด็กคุณร้องไห้จากใจของเขาแล้วหรือยัง ถ้ายังผมจะเล่าให้ฟังต่อในครั้งต่อไปนะครับ"
          

Sunday, July 17, 2011

โรงเรียนผู้สร้างตัวเรา

About School & ME : โรงเรียนผู้สร้างตัวเรา


"นวลวรรณดี นวลวรรณเลิศ นวลวรรณประเสริฐ ดีเลิศประเสริฐดีมณีเด้ง"^^


     เป็นประโยคแรก เพลงแรก หรือสิ่งแรกที่ผมได้เข้าสู่ประตูรั้วม่วง-เหลือง ถือเป็นก้าวแรกในการทำงานในวันนั้นที่ทำให้ผมได้มีชีวิตที่ดีในวันนี้
     ก่อนที่ผมจะเข้ามาทำงานในสถานศึกษาแห่งนี้ ผมก็เหมือนกับบุคคลโดยทั่วไปคือวิจัยฝุ่น หาการทำไม่ได้ หรือว่างงานนั้นเอง โดยในช่วงนั้นก็เครียดมากมาย เหมือนกับทุกคนๆละมั้งงงง^^ ในตอนนั้นคิดได้หางานทำ ต้องเป็นโรงเรียนดีๆ โรงเรียนใหญ่ๆ โรงเรียนเล็กไม่่ได้อยู่ในสายตาเลย เพราะความคิดในช่วงนั้นเอง เพราะการคิดเช่นนี้นิเองทำให้ผมตกงานแบบสบายๆๆไป 3 เดือน แต่หลังจากที่เพื่อน(ต่าย สุภกิจ)ผมคนหนึ่งเป็นครูอยู่ใกล้ๆบ้านผมเขาก็แนะนำให้มาสัมภาษณ์งานดู ผมก็ได้ลองไปสัมภาษณ์ที่โรงเรียนเล็กๆแห่งนี้ ที่มีชื่อว่า โรงเรียนนวลวรรณศึกษา

     โรงเรียนแห่งนี้มีขนาดเล็กไม่ได้ใหญ่โตอะไรมากนัก มีนักเรียนอยู่ไม่ถึง 300 คนมีครูอยู่ไม่ถึง 30 คน ต่างจากสิ่งที่วาดฝันถนัดเลย ในความคิดก่อนหน้าอยากที่จะอยู่โรงเรียนใหญ่ๆ มีนักเรียนมากๆ มีพื้นที่กว้างๆ ให้ผมได้สอนอย่างสนุก แต่กลับกลายเป็นการที่ได้มาอยู่ที่โรงเรียนเล็กๆ มีนักเรียนไม่มาก และ พื้นที่ไม่ได้กว้างเลย แห่งนี้ที่มีชื่อว่า โรงเรียนนวลวรรณศึกษา


     แต่การที่อยู่โรงเรียนเล็กๆนิหละทำให้ผมได้เปลี่ยนแนวความคิด ชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างของผมไป ได้เปลี่ยนความคิดในทุกอย่างไปหมดสิ้น ผมได้เรียนรู้ทุกอย่างจากโรงเรียนเล็กๆแห่งนี้ ได้เรียนรู้แนวความคิดต่างๆจากครูใหญ่ ครูใหญ่ได้สั่งได้สอนผมในทุกๆเรื่อง ท่านดีต่อผมมาก และจะมีโรงเรียนไหนบ้างในประเทศที่จะพบครูใหญ่ได้ทุกเวลาและเข้าถึงท่านได้ทุกนาที ผมคงบอกได้เลยคงมีแต่ที่โรงเรียนนี่ละ^^ รวมไปถึงครูท่านอื่นๆที่ได้ให้ความรู้ใหม่สิ่งต่างๆกับตัวผม คำแนะนำต่างๆกับตัวผม และสิ่งสำคัญข้อนี้ที่ทำให้ผมอาจจะทิ้งโรงเรียนแห่งนี้ไม่้ได้คือ การได้เรียนรู้ว่าจะพัฒนาโรงเรียนอย่างไรได้บ้าง อยู่ที่นี่ผมได้คิดและพัฒนาในทุกๆด้าน สร้างสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะเหนื่อยแต่ก็คุมที่ได้เหนื่อยที่ได้ทำมันลงไป จนทำให้ผมคิดได้นะว่าการที่ไปอยู่โรงเรียนใหญ่ๆผมจะได้พัฒนาอะไรบ้างหรือเปล่า การที่ได้อยู่ที่นี่ทำให้ผมได้เปลี่ยนแปลงความคิด ชีวิตของผมไปอย่างสิ้นเชิง นี่ละคือ โรงเรียนที่สร้างตัวเราของผมครับ โรงเรียนนวลวรรณศึกษา